รักษาสมบัติส่วนรวม
รักษาสมบัติส่วนรวม
ชาย โพธิสิตา (2540: 14 – 15) แบ่งองค์ประกอบของจิตสาธารณะจากงานวิจัยของลัดดาวัลย์ เกษมเนตร (2546: 2 – 3) ที่ศึกษากับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพราะองค์ประกอบดังกล่าวสอดคล้องกับพัฒนาการทางด้านต่างๆ ของเด็กวัยที่ผู้วิจัยศึกษาและสมบัติของส่วนรวมที่ผู้วิจัยศึกษาในครั้งนี้ เป็นสมบัติส่วนรวมที่อยู่ในโรงเรียน ทั้งสมบัติส่วนรวมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ซึ่งแบ่งองค์ประกอบของจิตสาธารณะเป็น 3 องค์ประกอบ 6 ตัวชี้วัด คือ
1. การหลีกเลี่ยงการใช้ หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อสมบัติของส่วนรวมในโรงเรียนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม หมายถึง การกระทำของนักเรียนในการรักษาทรัพย์สินการดูแลรักษาความสะอาด การไม่ทำลายทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติในโรงเรียน ทั้งในห้องเรียนเช่น โต๊ะ เก้าอี้ กระดานดำ ชั้นวางหนังสือ ถังขยะ ไม้กวาด เป็นต้น และสมบัตินอกห้องเรียน เช่น ห้องอาหาร ห้องสุขา ห้องปฏิบัติการต่างๆ ห้องสมุด สวนหย่อมในบริเวณโรงเรียน สนามเด็กเล่น เป็นต้น โดยวัดได้จาก 2 ตัวชี้วัดคือ
1.1 การดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวมในโรงเรียน คือ เมื่อมีการใช้แล้ว มีการเก็บรักษา ใช้แล้วเก็บเข้าที่เดิม การไม่ทิ้งเศษขยะในห้องเรียนและบริเวณโรงเรียน การไม่ขีดเขียนหรือทำลายวัสดุและอุปกรณ์ในห้องเรียนและในโรงเรียน เพื่อให้ของส่วนรวมอยู่ในสภาพดี เช่น การใช้ไม้กวาดแล้วเก็บเข้าที่เดิม การใช้หนังสือในห้องสมุดแล้วเก็บเข้าที่ การใช้อุปกรณ์กีฬาแล้วนำส่งคืน การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วปิดเครื่องและจัดเข้าที่เดิม
1.2 ลักษณะของการใช้ คือ การใช้ของส่วนรวมในโรงเรียนอย่างประหยัด ใช้อย่างทะนุถนอม ใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อให้ของส่วนรวมมีความคงทนใช้ได้นาน เช่น การเปิดอ่านหนังสือเบาๆ การใช้แก้วน้ำรองน้ำดื่ม การปิดไฟและพัดลมก่อนออกจากห้อง การใช้แป้นเครื่องคอมพิวเตอร์เบาๆ
2. การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกถึง การมุ่งปฏิบัติเพื่อส่วนรวมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในโรงเรียน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่ตนสามารถทำได้ โดยวัดได้จาก 2 ตัวชี้วัด คือ
2.1 การปฏิบัติตามหน้าที่ ที่ถูกกำหนดในการดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวม ในโรงเรียน คือ การทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการให้ดูแลรักษาสมบัติของโรงเรียน เช่น การทำหน้าที่เวรทำความสะอาดห้องเรียน การทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนการดูแลห้องสมุด และการดูแลห้องปฏิบัติการอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
2.2 การอาสาปฏิบัติหน้าที่บางอย่างเพื่อส่วนรวมในโรงเรียน คือ การช่วยทำหน้าที่อื่นที่ไม่ใช่หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ เช่น การอาสานำขยะไปทิ้ง การอาสาช่วยเก็บสิ่งของ การอาสากวาดห้องเรียนหรือบริเวณโรงเรียน
3. การเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวมในโรงเรียนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มโดยไม่ยึดครองของส่วนรวมนั้นมาเป็นของตนเอง ตลอดจนไม่ปิดกั้นโอกาสของบุคคลอื่นที่จะใช้ของส่วนรวมนั้น หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกถึง การเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวม โดยวัดได้จาก 2 ตัวชี้วัด คือ
3.1 การไม่ยึดครองของส่วนรวมในโรงเรียนมาเป็นสมบัติของตนเองคือ การไม่นำสมบัติของโรงเรียนมาเก็บไว้ที่ตน เช่น การไม่นำสีของโรงเรียนไประบายภาพที่บ้านการไม่นำอุปกรณ์กีฬาไปเล่นที่บ้าน
3.2 การแบ่งปัน หรือการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้ของส่วนรวมในโรงเรียน คือ การแบ่งปันสิ่งของกับผู้อื่น การไม่แสดงอาการหึงหวงสมบัติของส่วนรวม เช่น การไม่นำหนังสือห้องสมุดมาเก็บไว้ที่ตนหลายๆ เล่ม การเปลี่ยนให้เพื่อนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อตนใช้เสร็จๆ
ชาย โพธิสิตา (2540: 14 – 15) แบ่งองค์ประกอบของจิตสาธารณะจากงานวิจัยของลัดดาวัลย์ เกษมเนตร (2546: 2 – 3) ที่ศึกษากับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพราะองค์ประกอบดังกล่าวสอดคล้องกับพัฒนาการทางด้านต่างๆ ของเด็กวัยที่ผู้วิจัยศึกษาและสมบัติของส่วนรวมที่ผู้วิจัยศึกษาในครั้งนี้ เป็นสมบัติส่วนรวมที่อยู่ในโรงเรียน ทั้งสมบัติส่วนรวมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ซึ่งแบ่งองค์ประกอบของจิตสาธารณะเป็น 3 องค์ประกอบ 6 ตัวชี้วัด คือ
1. การหลีกเลี่ยงการใช้ หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อสมบัติของส่วนรวมในโรงเรียนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม หมายถึง การกระทำของนักเรียนในการรักษาทรัพย์สินการดูแลรักษาความสะอาด การไม่ทำลายทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติในโรงเรียน ทั้งในห้องเรียนเช่น โต๊ะ เก้าอี้ กระดานดำ ชั้นวางหนังสือ ถังขยะ ไม้กวาด เป็นต้น และสมบัตินอกห้องเรียน เช่น ห้องอาหาร ห้องสุขา ห้องปฏิบัติการต่างๆ ห้องสมุด สวนหย่อมในบริเวณโรงเรียน สนามเด็กเล่น เป็นต้น โดยวัดได้จาก 2 ตัวชี้วัดคือ
1.1 การดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวมในโรงเรียน คือ เมื่อมีการใช้แล้ว มีการเก็บรักษา ใช้แล้วเก็บเข้าที่เดิม การไม่ทิ้งเศษขยะในห้องเรียนและบริเวณโรงเรียน การไม่ขีดเขียนหรือทำลายวัสดุและอุปกรณ์ในห้องเรียนและในโรงเรียน เพื่อให้ของส่วนรวมอยู่ในสภาพดี เช่น การใช้ไม้กวาดแล้วเก็บเข้าที่เดิม การใช้หนังสือในห้องสมุดแล้วเก็บเข้าที่ การใช้อุปกรณ์กีฬาแล้วนำส่งคืน การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วปิดเครื่องและจัดเข้าที่เดิม
1.2 ลักษณะของการใช้ คือ การใช้ของส่วนรวมในโรงเรียนอย่างประหยัด ใช้อย่างทะนุถนอม ใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อให้ของส่วนรวมมีความคงทนใช้ได้นาน เช่น การเปิดอ่านหนังสือเบาๆ การใช้แก้วน้ำรองน้ำดื่ม การปิดไฟและพัดลมก่อนออกจากห้อง การใช้แป้นเครื่องคอมพิวเตอร์เบาๆ
2. การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกถึง การมุ่งปฏิบัติเพื่อส่วนรวมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในโรงเรียน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่ตนสามารถทำได้ โดยวัดได้จาก 2 ตัวชี้วัด คือ
2.1 การปฏิบัติตามหน้าที่ ที่ถูกกำหนดในการดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวม ในโรงเรียน คือ การทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการให้ดูแลรักษาสมบัติของโรงเรียน เช่น การทำหน้าที่เวรทำความสะอาดห้องเรียน การทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนการดูแลห้องสมุด และการดูแลห้องปฏิบัติการอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
2.2 การอาสาปฏิบัติหน้าที่บางอย่างเพื่อส่วนรวมในโรงเรียน คือ การช่วยทำหน้าที่อื่นที่ไม่ใช่หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ เช่น การอาสานำขยะไปทิ้ง การอาสาช่วยเก็บสิ่งของ การอาสากวาดห้องเรียนหรือบริเวณโรงเรียน
3. การเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวมในโรงเรียนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มโดยไม่ยึดครองของส่วนรวมนั้นมาเป็นของตนเอง ตลอดจนไม่ปิดกั้นโอกาสของบุคคลอื่นที่จะใช้ของส่วนรวมนั้น หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกถึง การเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวม โดยวัดได้จาก 2 ตัวชี้วัด คือ
3.1 การไม่ยึดครองของส่วนรวมในโรงเรียนมาเป็นสมบัติของตนเองคือ การไม่นำสมบัติของโรงเรียนมาเก็บไว้ที่ตน เช่น การไม่นำสีของโรงเรียนไประบายภาพที่บ้านการไม่นำอุปกรณ์กีฬาไปเล่นที่บ้าน
3.2 การแบ่งปัน หรือการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้ของส่วนรวมในโรงเรียน คือ การแบ่งปันสิ่งของกับผู้อื่น การไม่แสดงอาการหึงหวงสมบัติของส่วนรวม เช่น การไม่นำหนังสือห้องสมุดมาเก็บไว้ที่ตนหลายๆ เล่ม การเปลี่ยนให้เพื่อนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อตนใช้เสร็จๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น